วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ
การพัฒนานวัตกรรม E-Learing เรื่อง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นเรื่องผู้วิจัยพยายามที่จะนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการเรียนการสอน โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ประการ คือ เพื่อพัฒนานวัตกรรม E-Learing เรื่อง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาระบบทดสอบออนไลด์ และเพื่อหาความพึงพอใจของนวัตกรรม E-Learing เรื่องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่อผู้เรียน
วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยเริ่มพัฒนาบทเรียนออนไลน์และแบบฝึกหัดประจำบทเรียน แบบทดสอบกลางภาค แบบทดสอบปลายภาคไว้ที่เว็บไซท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ สำหรับประชากรที่ใช้ในการวิจัยในการทดลองเรียนคือ นักศึกษาเอกคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 2 หมู่เรียนได้แก่ หมู่เรียน 4516511 มีนักศึกษาจำนวน 34 คน นักศึกษาหมู่เรียน 4516512 มีนักศึกษาจำนวน 34 คน รวมนักศึกษาทั้งหมดที่ทดลองใช้บทเรียน 64 คน โดยใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชา ระบบเครือข่ายและการกระจาย ที่ได้ลงทะเบียบเรียนในภาคเรียนที่ 1/2547 หาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าใช้บทเรียนออนไลน์ โดยทำแบบสอบถาม สรุปผลการวิจัยและอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ รวมระยะเวลาที่ใช้ทดลอง 1 ภาคเรียน
นอกจากบทเรียนและแบบทดสอบแล้ว ระบบยังมี Webboard ไว้ให้นักศึกษาได้ฝากข้อความคำถามต่างๆ ที่ไม่เข้าใจหรือมีข้อสงสัยในบทเรียน ไว้ให้อาจารย์หรือเพื่อนเข้ามาตอบแบบสอบถามได้ และมี Guestbook ไว้สำหรับแขกผู้มาเยือนได้ลงทะเบียนในสมุดบันทึกการเข้าเยี่ยม ให้ข้อคิดหรือแสดงความคิดเห็น
บทเรียนมีส่วนที่ผู้ดูแลระบบสามารถเข้าไปจัดการฐานข้อมูล โดยสามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือลบข้อมูลที่ไม่ดี ไม่สุภาพ หรือข้อมูลผู้ใช้ระบบ Webboard Guestbook ข้อมูลโปรแกรมวิชา หรืออื่นๆ ในระบบฐานข้อมูลโดยมีอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ควบคุมระบบนี้ทั้งหมดผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เนต
ความพึงพอใจของผู้เรียน จากผู้ตอบแบบสอบถาม 68 คนพบว่ามีระดับความพึงพอใจในบทเรียนออนไลน์เรื่องระบบเครือข่าย เฉลี่ยอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 3.5641 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .4651)และมีค่าความพอใจในส่วนของการแสดงข้อมูลความยาวแต่ละหน้าต่ำสุด คือ 3.22 และค่าความพอใจสูงสุดในส่วนของหน้าจอง่ายต่อการใช้งาน มากที่สุดคือ 3.75
ชื่อของผู้วิจัย นายประยูร ไชยบุตร

สรุปการเรียนครั้งที่ 1-2

ความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้ คือ บทที่ 1 เรื่องแนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
องค์ประกอบที่สำคัญที่ต้องเรียนรู้ ได้แก่ สรุปความหมายของข้อมูล ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ควรค่าแก่การจัดเก็บ เพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่อไป โดยข้อมูลอาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ สรุปความหมายของสารสนเทศ สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นหรือประสบการณ์ส่วนบุคคลที่นำมาผ่านกระบวนการ ประมวลผลข้อมูล และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และคาดการณ์อนาคตได้ สารสนเทศอาจแสดงในรูปของข้อความ ตารางแผนภูมิ รูปภาพและสัญลักษณ์ต่างๆ
ประโยชน์ของข้อมูลและสารสนเทศในการบริหารงาน มี 3 ด้าน
1.ด้านการวางแผน
2.ด้านการตัดสินใจ
3.ด้านการดำเนินงาน
ความหมายของระบบและระบบสารสนเทศ ระบบหมายถึง หน่วยงานหรือองค์กรที่เกิดขึ้นจากการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะที่ซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานกัน หรือชุดขององค์ประกอบที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในรูปแบบของความสัมพันธ์ ตามหลักเหตุผลทางวิชาการ หรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งมีส่วนสัมพันธ์ประสานเข้ากันโดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และดำเนินงานร่วมกันไปเพื่อสู่เป้าหมายเดียวกัน
องค์ประกอบสำคัญของการดำเนินการของระบบ ได้แก่
-ส่วนนำเข้า หรือตัวป้อน
-การประมวลผล หรือกระบวนการ
-ผลผลิตหรือผลลัพธ์
-ข้อมูลย้อนกลับ
ประเภทของระบบ แบ่งได้ตามเงื่อนไข ความเหมาะสม ดังนี้
1.ระบบเชิงกายภาพและระบบเชิงแนวคิด 2.ระบบธรรมชาติ
3.ระบบทางสังคม 4.ระบบเปิด และระบบปิด
5.ระบบที่คงที่และไม่คงที่
ส่วนองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
1.นำข้อมูลมาเป็น ดัวป้อน 2.เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.ฐานข้อมูล 4.ระบบการควบคุม
5.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 6.บุคลากร
7.ผู้ใช้งาน
ระบบสารสนเทศมีหน้าที่พื้นฐานที่สำคัญ 5 ประการ
1.Input function 2.Storage function 3.Processing function 4.Output function 5.Communication function
ความรู้ที่จากบทที่ 2 คือ เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร เป็นกระบวนการสำหรับถ่ายทอด หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือสารสนเทศ ระหว่างผู้ส่งสาร และผู้รับสาร โดยทั่วไปใช้สัญลักษณ์ร่วมกันเช่น ท่าทาง ภาษามือ ตัวอักษร หรือภาษาต่างๆ ซึ่งมนุษย์ได้มีการพัฒนาการติดต่อสื่อสารมาตั้งแต่อดีต การสื่อสารข้อมูล เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร หรือระหว่างอุปกรณ์สื่อสาร โดยผ่านสื่อกลางที่ใช้ในการส่งผ่านข้อ
มูล
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1.ผู้ส่ง หรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล เป็นแหล่งต้นทางการสื่อสาร โดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดหรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2.ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์ที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น ผู้รับ
คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3.ข่าวสาร มีหลายรูปแบบ เช่น
3.1ข้อความ
3.2เสียง
3.3รูปภาพ
3.4สื่อผสม
4.สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มี
สายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช่สัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5.โปรโตคอล เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลง ถึงกฏระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสาร เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน เทคโนโลยีการสื่อสาร แบบจำลองการสื่อสาร ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน
1.แหล่งต้นทาง
2.เครื่องส่ง
3.ระบบการส่ง
3.1 Single line Transmission/Point to Point
3.2 Network/Multipoint
3.3 Simplex,Half duplex,Full duplex
4.เครื่องรับ
5.แหล่งปลายทาง
เทคโนโลยีการสื่อสาร ระบบโทรคมนาคม ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน
1.เครื่งอคอมพิวเตอร์สำหรับการประมวลผล
2.เครื่อง Termial สำหรับรับและการแสดงผลข้อมูล
3.ช่องสื่อสาร คือการเชื่อมต่อในรูปแบบต่างๆ
4.อุปกรณ์ประมวลผลสำหรับการสื่อสาร
5.Software สื่อสารซึ่งควบคุมกิจกรรมการส่ง รับข้อมูล บริหารการจัดการหน้าที่ต่างๆ อำนวยความสะดวกในการสื่อสาร เทคโนโลยีการสื่อสาร ชนิดของสัญญาณ
1.สัญญาณอนาลอก เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง การส่งสัญญาณจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากทุกค่าถูกนำมาใช้งานนั่นเอง
2.สัญญาณดิจิทัล เป็นสัญญาณที่ประกอบจาก 2 ค่าคือ สัญญาณระดับสูง และสัญญาณระดับต่ำ ดังนั้นจะมีประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบ Analog
เทคโนโลยีการสื่อสาร ทิศทางการสื่อสารข้อมูล สามารถแบ่งออกเป็น 3แบบ คือ
1.แบบทิศทางเดียว ข้อมูลจากส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง โดยไม่สามารถย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ เป็นต้น
2.แบบกึ่งสองทิศทาง ข้อมูลสามารถส่งสลับได้ ทั้งสองทิศทาง โดยผลัดกันส่ง เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด
3.แบบสองทิศทาง ข้อมูลสามารถส่งพร้อมๆ กันได้ทั้งสองทิศทางได้อย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์ เป็นต้น
เทคโนโลยีการสื่อสาร ช่องทางการสื่อสารข้อมูล สามารถแบ่งเป็น แบบมีสายสัญญาณ และไร้สายสัญญาณ คือ Wired และ Wireless
(ในทางปฏิบัติ)
-การสมัคร http://www.gmail.com เพื่อใช้ในการส่งงานให้กับอาจารย์ โดยmail นั้นจะใช้รหัสของตัวนักศึกษา เพื่อง่ายต่อการเช็คงาน
-การสร้าง Blogger เป็นเว็บไซด์ที่ทุกคนสามารถเข้ามาดู โดยไม่ใช่อาจารย์หรือนักศึกษาที่เรียนร่วม ซึ่ง blogger นี้จะเป็นสิ่งที่เราสามารถแบ่งความรู้ใหม่ๆ หรือสิ่งที่เราได้เจอมา มาแชร์ความรู้ ความรู้สึกต่างๆ โดยทุกคนสามารถร่วมแชร์ความรู้ต่างได้
คำถาม
เพราะอะไรอาจารย์ไม่ให้สร้างmail ของ hotmail ละค่ะ
สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียนปฏิบัติ ควรที่ให้จับคู่คนที่ทำได้กับไม่ได้ (คอมพิวเตอร์)เพราะจะเรียนมากกว่านี้ โดยที่อาจารย์ไม่ต้องเดินไปหาทุกคน และจะเรียนได้มากกว่านี้

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ภาพที่ประทับใจ


นี้ละเมืองไทย บรรยากาศดีมาก และก็สวยด้วย (จริงไหมค่ะ)

ภาพฉัน


เย้ๆๆๆๆๆๆๆทะเลแสนสวย
บรรยากาศดี

ภาพที่ประทับใจ


ภาพนี้อยากจะแนะนำ เพราะเป็นวัดที่ป่าที่สงบมากๆๆๆๆ
อากาศดีสุดๆๆ วัดนี้ชื่อว่า วัดป่าสุนันทวนาราม จ.กาญจนบุรี หลวงพ่อชื่อว่า หลวงมิซูโอะ

My Profile

ชื่อของฉัน นามว่า สุรภี อินทรแจง

เล่นๆ ว่า โบว์ (beau)